นิทาน คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เพลงคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2562

สรุป บทความ




สรุป บทความ


บทความเรื่อง : นิทานกับการสอนคณิตศาสตร์









โดย: อาจารย์ ดร.มนตรี วงษ์สะพาน




สรุปบทความ
บทความเรื่อง : นิทานกับการสอนคณิตศาสตร์







การใช้นิทานเพื่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งในการกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนให้อยากหาคำตอบที่ครูผูกปมปัญหาไว้ในเรื่องราวของนิทาน เช่น นิทานเรื่อง “สี่พี่น้องกับที่นาสิบห้าไร่” ปมของเรื่องราวมีอยู่ว่า ลุงแสวงมีลูกชายอยู่สี่คน คนโตมีอาชีพเป็นชาวนา คนรองเป็นตำรวจ คนที่สามเป็นครู คนที่สี่เป็นทหาร อยู่มาวันหนึ่งลุงแสวงป่วยหนักจึงเขียนพินัยกรรมไว้ว่า ให้แบ่งที่นาเป็นห้าส่วน ลูกที่เป็นชาวนาได้สองส่วน เหลือสามส่วนแบ่งให้ลูกคนที่เหลือเท่าๆ กัน จากเรื่องราวของลุงแสวงครูสามารถตั้งคำถามได้หลายลักษณะให้นักเรียนคำนวณ เช่น ลูกแต่ละคนจะได้ที่นาคนละเท่าไหร่ ซึ่งนักเรียนจะต้องไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับหน่วยที่ดินเป็นไร่ งาน ตารางวา หรือตารางเมตร ต้องมีความเข้าใจเรื่องสัดส่วน เพื่อให้สามารถแบ่งที่นาได้อย่างถูกต้อง โดยวิธีการคำนวณของนักเรียนอาจแตกต่างกัน ตามความเข้าใจของแต่ละคน




 





ผู้บันทึก
ชื่อ นางสาว ฐิติรัตน์    นันตสุข
รหัสนักศึกษา 6011200463







สรุป ตัวอย่างการสอน



สรุป ตัวอย่างการสอน






 กิจกรรมรูปทรงแสนสนุก 

เรื่องสนุก ๆ ในชั้นเรียนของเด็กอนุบาล เรียนคณิตแบบสืบเสาะหาความรู้ ใช้คำถามกระตุ้นต่อมคิด









โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต เรียนรู้อย่างสนุกสนานกับกิจกรรม “รูปทรงแสนสนุก” โดยคุณครูกนกอร ปานบุญ ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้นี้ขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักรูปทรงเรขาคณิต จำแนกรูปทรงเรขาคณิต รวมทั้งเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปทรงเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำได้

“ลักษณะสำคัญของการสืบเสาะหาความรู้ในกิจกรรมนี้ก็คือการตั้งคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ เด็กๆสังเกตรูปทรงและตั้งคำถามว่า  รูปทรงแต่ละรูปทรงไม่เหมือนกันอย่างไร  สำรวจตรวจสอบรวบรวมข้อมูล เด็กๆ สังเกตในห้องเรียนว่ามีอะไรบ้างที่มีลักษณะเป็นรูปทรงเรขาคณิต หยิบรูปทรงเรขาคณิตที่รู้จักมาให้เพื่อนดูและครูแนะนำรูปทรงที่นักเรียนยังไม่รู้จัก  ตอบคำถามอ้างอิงข้อมูล สร้างคำอธิบายอย่างมีเหตุผล เด็กๆร่วมกันทำแผนภาพแยกประเภทของรูปทรงและสรุปถึงรูปทรงที่เด็กๆ รู้จักและประเภทของรูปทรงอีกครั้งนำเสนอผลการสำรวจตรวจสอบ  นักเรียนนำรูปทรงต่างๆ มาต่อเติมตามจินตนาการและนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน”  คุณครูกนกอร ปานบุญ กล่าว
      



สำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดำเนินไปตามลำดับขั้นตอนดังนี้ ใน ขั้นนำ นักเรียนและคุณครูสนทนาซักถามถึงสิ่งของที่มีลักษณะเป็นรูปทรงเรขาคณิตต่าง ๆ  ที่เด็กๆ พบเห็นในชีวิตประจำวันว่ามีอะไรบ้าง  ครูให้เด็กออกมาบอกหน้าชั้นเรียน หรือครูอาจใช้คำถามกระตุ้นความคิดและความสนใจของเด็ก ดังเช่นคำถามต่อไปนี้  
“เอ๊ะ .. ในห้องเรียนเด็ก ๆ มีอะไรที่เป็นรูปทรงเรขาคณิต ในห้องเรียนที่เด็ก ๆ รู้จักให้ครูและเพื่อนดูบ้างนะ”  ..เช่น ลูกบอล  ลูกปิงปอง  ไม้ต่อบล็อก  แก้วน้ำกระดาษ  ผลไม้จำลอง เป็นต้น







ขั้นสุดท้าย ขั้นสรุป  เมื่อนักเรียนได้รู้จักรูปทรงต่าง ๆ  และสามารถแยกประเภทรูปทรงต่าง ๆ ได้แล้ว  ครูเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นรูปทรงเรขาคณิต เช่น กล่องกระดาษ  ขวดนมเปรี้ยว ลูกปิงปอง กล่องนม ฯลฯ  มาให้เด็กๆ ช่วยกันต่อเติมเป็นเรื่องราวต่าง ๆ ตามจินตนาการ โดยครูเป็นเพียงแค่ผู้คอยดูแลและอำนวยความสะดวกอยู่ใกล้ ๆ
และท้ายสุด .....นักเรียนมานำเสนอผลงานของกลุ่มตัวเองหน้าชั้นเรียนว่า สามารถนำรูปทรงต่าง ๆ  มาต่อเติมเป็นรูปอะไรได้บ้าง    







//////  เอกสารอ้างอิง  //////



   ผลงานนี้ได้นำไปจัดแสดงในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัย ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ "วิทย์ - คณิตปฐมวัย ก้าวย่างอย่างไรให้ยั่งยืน"  ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ   ที่จัดโดย สสวท. เมื่อปีที่แล้วด้วย

ทั้งนี้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ได้ดำเนินโครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีปฐมวัย โดยมีการพัฒนากรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 พร้อมทั้งได้จัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามสาระ มาตรฐานและตัวชี้วัด รวมทั้งตัวอย่างกิจกรรมไว้อย่างละเอียดและชัดเจน เพื่อให้ครูและผู้เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  








อนุทินครั้งที่ 11






อนุทิน
ครั้งที่ 11






วันพุธ ที่ 3 เดือน เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 08.30 น.


คาบเรียน การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย




////////////////////////////////////





ในคาบเรียนวันนี้อาจารย์ ได้เข้าตรวจบล็อคของนักศึกษาแต่ละคน เพื่อเป็นการพูดคุย ถามไถความคืบหน้าของการทำบล็อคของนักศึกษาแต่ละคน ให้คำแนะนำในการทำบล็อคให้มีเนื้อหาที่ครบถูกต้องสมบูรณ์ 






หลังจากที่อาจารย์ตรวจบล็อคเสร็จ อาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษา นำผลงานสื่อการสอนของเเต่ละกลุ่มที่ได้รับมอบหมายในการสร้างสื่อ นำออกมานำเสนอหน้าห้อง ให้ทั้งอาจารย์และเพื่อนร่วมชั้นได้ดูได้ชมสื่อของเเต่ละกลุ่ม ในการอธิบายการเล่น และสาธิตการเล่นสื่อชิ้นนั้นๆ ซึ่งอาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำในการปรับแก้ในบางอย่างของสื่อที่นักศึกษาไดทำมา แต่อาจมีบางอย่างที่ต้องทำการปรับแก้ให้เป็นระเบียบและถูกต้อง






ภาพขณะที่แต่ละกลุ่มทำผลงานออกมาทำการนำเสนอ











ภาพขณะทำสื่อการสอน
เรื่อง แกนสมมาตร




















  







คำศัพท์น่ารู้


Symmetrical axis  :  แกนสมมาตร
Materials  :   สื่อการสอน
Demonstration  :  การสาธิต
Completely : ครบถ้วน

Described  :  การอธิบาย








การประเมิน ประจำวันพุธ ที่ 2 เดือนเมษายน พ.ศ. 2562


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์แบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา พร้อมกับอธิบายเนื้อหา และวิธีการขั้นตอนการเรียนการสอน เทคนิคที่น่าสนใจ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆมาเข้าเรียนตรงตามเวลา และเเต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจในการทำกิจกรรมได้เป็นอย่างดี
ประเมินตนเอง : มาเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน และฟังคำอธิบายจากอาจารย์










ผู้บันทึก
ชื่อ นางสาว ฐิติรัตน์    นันตสุข
รหัสนักศึกษา 6011200463


การศึกษาปฐมวัย

อนุทินครั้งที่ 10





อนุทิน
ครั้งที่ 10





วันพุธ ที่ 27 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 08.30 น.


คาบเรียน การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



////////////////////////////






วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากนักศึกษาต้องไปทำกิจกรรม อ.พัชรา












ผู้บันทึก
ชื่อ นางสาว ฐิติรัตน์    นันตสุข
รหัสนักศึกษา 6011200463


การศึกษาปฐมวัย

อนุทินครั้งที่ 9





อนุทิน
ครั้งที่ 9


Toy PNG Picture






วันพุธ ที่ 20 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 08.30 น.




คาบเรียน การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



'''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''''





บรรยากาศการเรียนการสอน





การเรียนการสอนในคาบเรียนวันนี้ อาจารย์ ได้ให้นักศึกษานำผลงานของแต่ละกลุ่มมาตรวจความคืบหน้าของสื่อชิ้นงานที่ได้รับมอบหมายไปเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน นอกจากนี้อาจารย์ยังได้ให้คำแนะนำในการทำงาน ถามถึงปัญหาในการทำงาน และเรื่องของอุปกรณ์ในการทำสื่อการสอนว่าพอหรือไม่  





 การทำสื่อการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น อาจารย์ได้ให้คำแนะนำกับนักศึกษาว่า ต้องคำนึงถึงการเรียนรู้ของเด็ก ต้องให้เด็กเล่นแบบรูปธรรม เด็กจะได้เข้าใจง่าย เรียนรู้ผ่านการสัมผัส และสื่อบางชนิดยังช่วยพะัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่
อาจารย์อธิบายเสร็จ อาจารย์ก็ได้นำสื่อของพี่ๆ มาให้ดูเป็นตัวอย่าง และนำออกมาให้นักศึกษาลองเล่นดู พอเล่น อาจารย์ได้ให้จับคู่ แล้วอธิบายสื่อของพี่ว่าเล่นแบบใด








อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำถึงวิธีการเล่น เพื่อการเรียนรู้ของเด็ก เน้นในเด็กคิดเป็นจากนามธรรมเป็น
รูปธรรมเน้นให้เด็กผ่านขั้นอนุรักษ์






บรรยากาศการดูสื่อการสอนของรุ่นพี่




ช่วงท้ายคาบเรียน อาจารย์ได้พูดคิดวิเคราะห์และวิจารณ์ชิ้นงานของแต่ละกลุ่มเพื่อให้นักศึกษาได้เห็นถึงข้อดีและข้อบกพร่องของสื่อที่นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำ พร้อมทั้งให้คำแนะคำ การปรึกษา

หลังจากที่อาจารย์ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสื่อกับนักศีกษาถึงชิ้นงานสื่อของเเต่ละกลุ่มไปแล้ว อาจารย์ก็ได้นำตัวอย่างสื่อคณิตศาสตร์ของรุ่นพี่นำมาให้เล่นและให้ศึกษาการทำชิ้นงาน ให้ดูวัตถุประสงค์ วิธีการเล่น ประโยชน์ของสื่อที่นำมาให้เด็กเล่น เกมส์ที่จัดทำขึ้นจากวัสดุของเหลือใช้ที่นำมาใช้ใหม่จากแผงไข่ และฝาขวดนำ เช่น ความสัมพันธ์สองภาพ บิงโก การนับจำนวน เกมส์จากแผงไข่




    



       


      





คำศัพท์น่ารู้


Speciments  :  ชิ้นงาน
Monitoring  :   การตรวจสอบ
Progress  :  ความคืบหน้า
Analysis : การวิเคราะห์
Sample  :  ตัวอย่าง








การประเมิน ประจำวันพุธ ที่ 20 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2562


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์แบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา พร้อมกับอธิบายเนื้อหา และวิธีการขั้นตอนการเรียนการสอน เทคนิคที่น่าสนใจ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆมาเข้าเรียนตรงตามเวลา และเเต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจในการทำกิจกรรมได้เป็นอย่างดี
ประเมินตนเอง : มาเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน และฟังคำอธิบายจากอาจารย์









ผู้บันทึก
ชื่อ นางสาว ฐิติรัตน์    นันตสุข
รหัสนักศึกษา 6011200463



การศึกษาปฐมวัย