วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

อนุทินครั้งที่ 13





อนุทินครั้งที่ 13







วันพุธ ที่ 24 เดือน เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 08.30 น.


คาบเรียน การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย




บรรยากาศการเรียนการสอน

การเรียนการสอนในคาบเรียนการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในเช้าวันนี้ อาจารย์ได้พูดถึง มาตรฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 


 สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ 


สาระที่ จำนวนและการดำเนินการ

เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
เข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์
ระหว่างการดำเนินการต่างๆ และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหา
ใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา


สาระที่ การวัด
เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัด
แก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด


สาระที่ เรขาคณิต
อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ
ใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ (spatial 
reasoning) และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model) 
ในการแก้ปัญหา


สาระที่ พีชคณิต
เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์ และฟังก์ชัน
ใช้นิพจน์ สมการ อสมการ กราฟ และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ 
(mathematical model) อื่นๆ แทนสถานการณ์ต่างๆ ตลอดจน
แปลความหมาย และนำไปใช้แก้ปัญหา


สาระที่ การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้ 
อย่างสมเหตุสมผลใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา


สาระที่ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อ 
ความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ 
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิด
ริเริ่มสร้างสรรค์ 




การเรียนการสอนมีเนื้อหาเกี่ยวกับ การเปรียบเทียบจำนวน เครื่องหมาย มากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ ก่อนจะสอนในเรื่องของการจับคู่ วิธีการให้เด็กได้มีโอกาสในการจับคู่ โดยมีเกณฑ์ในการกำหนดให้เด็กได้เป็นผู้คิด กระทำ




ขณะทำการเรียนการสอน ได้ทำการจดบันทึก และฝึกการทำแผ่นพับจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์




อาจารย์ได้ทำการสอนถึงเรื่องของการทำแผ่นผังการแยก จำแนก ทางคณิตศาสตร์ โดยการยกตัวอย่างหัวข้อใกล้ตัว ได้แก่เรื่อง ไข่ 

หลังจากนั้นจึงได้ให้นักศึกษาได้มีโอกาศในการสร้างผังของตน โดยอาจารย์ได้กำหนดหัวข้อ คือ นก




///////  แผ่นพับ  ///////




















 ///////  ทำการปิดคอร์ส  ///////
ปิดภาคเรียนที่ 2 
วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

///////////// คำศัพท์น่ารู้ /////////////


For example  :  ยกตัวอย่าง
Shapes  :   แผนผัง
Set  :  การกำหนด
Ticket  : เครื่องหมาย
Parcel  :  การจับคู่







การประเมิน ประจำวันพุธ ที่ 24 เดือนเมษายน พ.ศ. 2562


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์แบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา พร้อมกับอธิบายรายวิชาที่กระชับเข้าใจง่าย
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆมาเข้าเรียนตรงตามเวลา และเเต่งกายถูกระเบียบ
ประเมินตนเอง : มาเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายรายวิชา









ผู้บันทึก
ชื่อ นางสาว ฐิติรัตน์    นันตสุข
รหัสนักศึกษา 6011200463

การศึกษาปฐมวัย

วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

อนุทินครั้งที่ 12











อนุทินครั้งที่ 12









วันพุธ ที่ 17 เดือน เมษายน พ.ศ. 2562 

คาบเรียน การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

--------------


บรรยากาศการทำการเรียนการสอน



อาจารย์แจกกระดาษให้กับนักศึกษากันคนละแผ่น เพื่อที่มอบได้ทำการมอบหมายชิ้นงานให้นักศึกษาแต่ละคนออกแบบสรุปเนื้อหาเกี่ยวกับกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ด้วยความคิดของเเต่ละคนเอง โดยนักศึกษาสามารถทำการค้นคว้าหาได้โดยอิสระ 



ภาพขณะทำการเรียนการสอน



แหล่งอ้างอิง





ผลงาน







///////////// คำศัพท์น่ารู้ /////////////


Progress  ความก้าวหน้า
Check      ตรวจงาน
Abstract  นามธรรม
Share       แบ่งปัน 
Portfolio  ผลงาน




การประเมิน ประจำวันพุธ ที่ 17 เดือนเมษายน พ.ศ. 2562


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์แบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา พร้อมกับอธิบายรายวิชาที่กระชับเข้าใจง่าย
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆมาเข้าเรียนตรงตามเวลา และเเต่งกายถูกระเบียบ
ประเมินตนเอง : มาเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายรายวิชา









ผู้บันทึก
ชื่อ นางสาว ฐิติรัตน์    นันตสุข
รหัสนักศึกษา 6011200463

การศึกษาปฐมวัย

วันพฤหัสบดีที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2562

สรุป บทความ




สรุป บทความ


บทความเรื่อง : นิทานกับการสอนคณิตศาสตร์









โดย: อาจารย์ ดร.มนตรี วงษ์สะพาน




สรุปบทความ
บทความเรื่อง : นิทานกับการสอนคณิตศาสตร์







การใช้นิทานเพื่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งในการกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนให้อยากหาคำตอบที่ครูผูกปมปัญหาไว้ในเรื่องราวของนิทาน เช่น นิทานเรื่อง “สี่พี่น้องกับที่นาสิบห้าไร่” ปมของเรื่องราวมีอยู่ว่า ลุงแสวงมีลูกชายอยู่สี่คน คนโตมีอาชีพเป็นชาวนา คนรองเป็นตำรวจ คนที่สามเป็นครู คนที่สี่เป็นทหาร อยู่มาวันหนึ่งลุงแสวงป่วยหนักจึงเขียนพินัยกรรมไว้ว่า ให้แบ่งที่นาเป็นห้าส่วน ลูกที่เป็นชาวนาได้สองส่วน เหลือสามส่วนแบ่งให้ลูกคนที่เหลือเท่าๆ กัน จากเรื่องราวของลุงแสวงครูสามารถตั้งคำถามได้หลายลักษณะให้นักเรียนคำนวณ เช่น ลูกแต่ละคนจะได้ที่นาคนละเท่าไหร่ ซึ่งนักเรียนจะต้องไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับหน่วยที่ดินเป็นไร่ งาน ตารางวา หรือตารางเมตร ต้องมีความเข้าใจเรื่องสัดส่วน เพื่อให้สามารถแบ่งที่นาได้อย่างถูกต้อง โดยวิธีการคำนวณของนักเรียนอาจแตกต่างกัน ตามความเข้าใจของแต่ละคน




 





ผู้บันทึก
ชื่อ นางสาว ฐิติรัตน์    นันตสุข
รหัสนักศึกษา 6011200463







สรุป ตัวอย่างการสอน



สรุป ตัวอย่างการสอน






 กิจกรรมรูปทรงแสนสนุก 

เรื่องสนุก ๆ ในชั้นเรียนของเด็กอนุบาล เรียนคณิตแบบสืบเสาะหาความรู้ ใช้คำถามกระตุ้นต่อมคิด









โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต เรียนรู้อย่างสนุกสนานกับกิจกรรม “รูปทรงแสนสนุก” โดยคุณครูกนกอร ปานบุญ ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้นี้ขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักรูปทรงเรขาคณิต จำแนกรูปทรงเรขาคณิต รวมทั้งเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปทรงเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำได้

“ลักษณะสำคัญของการสืบเสาะหาความรู้ในกิจกรรมนี้ก็คือการตั้งคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ เด็กๆสังเกตรูปทรงและตั้งคำถามว่า  รูปทรงแต่ละรูปทรงไม่เหมือนกันอย่างไร  สำรวจตรวจสอบรวบรวมข้อมูล เด็กๆ สังเกตในห้องเรียนว่ามีอะไรบ้างที่มีลักษณะเป็นรูปทรงเรขาคณิต หยิบรูปทรงเรขาคณิตที่รู้จักมาให้เพื่อนดูและครูแนะนำรูปทรงที่นักเรียนยังไม่รู้จัก  ตอบคำถามอ้างอิงข้อมูล สร้างคำอธิบายอย่างมีเหตุผล เด็กๆร่วมกันทำแผนภาพแยกประเภทของรูปทรงและสรุปถึงรูปทรงที่เด็กๆ รู้จักและประเภทของรูปทรงอีกครั้งนำเสนอผลการสำรวจตรวจสอบ  นักเรียนนำรูปทรงต่างๆ มาต่อเติมตามจินตนาการและนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน”  คุณครูกนกอร ปานบุญ กล่าว
      



สำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดำเนินไปตามลำดับขั้นตอนดังนี้ ใน ขั้นนำ นักเรียนและคุณครูสนทนาซักถามถึงสิ่งของที่มีลักษณะเป็นรูปทรงเรขาคณิตต่าง ๆ  ที่เด็กๆ พบเห็นในชีวิตประจำวันว่ามีอะไรบ้าง  ครูให้เด็กออกมาบอกหน้าชั้นเรียน หรือครูอาจใช้คำถามกระตุ้นความคิดและความสนใจของเด็ก ดังเช่นคำถามต่อไปนี้  
“เอ๊ะ .. ในห้องเรียนเด็ก ๆ มีอะไรที่เป็นรูปทรงเรขาคณิต ในห้องเรียนที่เด็ก ๆ รู้จักให้ครูและเพื่อนดูบ้างนะ”  ..เช่น ลูกบอล  ลูกปิงปอง  ไม้ต่อบล็อก  แก้วน้ำกระดาษ  ผลไม้จำลอง เป็นต้น







ขั้นสุดท้าย ขั้นสรุป  เมื่อนักเรียนได้รู้จักรูปทรงต่าง ๆ  และสามารถแยกประเภทรูปทรงต่าง ๆ ได้แล้ว  ครูเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นรูปทรงเรขาคณิต เช่น กล่องกระดาษ  ขวดนมเปรี้ยว ลูกปิงปอง กล่องนม ฯลฯ  มาให้เด็กๆ ช่วยกันต่อเติมเป็นเรื่องราวต่าง ๆ ตามจินตนาการ โดยครูเป็นเพียงแค่ผู้คอยดูแลและอำนวยความสะดวกอยู่ใกล้ ๆ
และท้ายสุด .....นักเรียนมานำเสนอผลงานของกลุ่มตัวเองหน้าชั้นเรียนว่า สามารถนำรูปทรงต่าง ๆ  มาต่อเติมเป็นรูปอะไรได้บ้าง    







//////  เอกสารอ้างอิง  //////



   ผลงานนี้ได้นำไปจัดแสดงในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัย ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ "วิทย์ - คณิตปฐมวัย ก้าวย่างอย่างไรให้ยั่งยืน"  ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ   ที่จัดโดย สสวท. เมื่อปีที่แล้วด้วย

ทั้งนี้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ได้ดำเนินโครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีปฐมวัย โดยมีการพัฒนากรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 พร้อมทั้งได้จัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามสาระ มาตรฐานและตัวชี้วัด รวมทั้งตัวอย่างกิจกรรมไว้อย่างละเอียดและชัดเจน เพื่อให้ครูและผู้เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  








อนุทินครั้งที่ 11






อนุทิน
ครั้งที่ 11






วันพุธ ที่ 3 เดือน เมษายน พ.ศ. 2562 เวลา 08.30 น.


คาบเรียน การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย




////////////////////////////////////





ในคาบเรียนวันนี้อาจารย์ ได้เข้าตรวจบล็อคของนักศึกษาแต่ละคน เพื่อเป็นการพูดคุย ถามไถความคืบหน้าของการทำบล็อคของนักศึกษาแต่ละคน ให้คำแนะนำในการทำบล็อคให้มีเนื้อหาที่ครบถูกต้องสมบูรณ์ 






หลังจากที่อาจารย์ตรวจบล็อคเสร็จ อาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษา นำผลงานสื่อการสอนของเเต่ละกลุ่มที่ได้รับมอบหมายในการสร้างสื่อ นำออกมานำเสนอหน้าห้อง ให้ทั้งอาจารย์และเพื่อนร่วมชั้นได้ดูได้ชมสื่อของเเต่ละกลุ่ม ในการอธิบายการเล่น และสาธิตการเล่นสื่อชิ้นนั้นๆ ซึ่งอาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำในการปรับแก้ในบางอย่างของสื่อที่นักศึกษาไดทำมา แต่อาจมีบางอย่างที่ต้องทำการปรับแก้ให้เป็นระเบียบและถูกต้อง






ภาพขณะที่แต่ละกลุ่มทำผลงานออกมาทำการนำเสนอ











ภาพขณะทำสื่อการสอน
เรื่อง แกนสมมาตร




















  







คำศัพท์น่ารู้


Symmetrical axis  :  แกนสมมาตร
Materials  :   สื่อการสอน
Demonstration  :  การสาธิต
Completely : ครบถ้วน

Described  :  การอธิบาย








การประเมิน ประจำวันพุธ ที่ 2 เดือนเมษายน พ.ศ. 2562


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์แบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา พร้อมกับอธิบายเนื้อหา และวิธีการขั้นตอนการเรียนการสอน เทคนิคที่น่าสนใจ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆมาเข้าเรียนตรงตามเวลา และเเต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจในการทำกิจกรรมได้เป็นอย่างดี
ประเมินตนเอง : มาเข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน และฟังคำอธิบายจากอาจารย์










ผู้บันทึก
ชื่อ นางสาว ฐิติรัตน์    นันตสุข
รหัสนักศึกษา 6011200463


การศึกษาปฐมวัย