สรุป ตัวอย่างการสอน
กิจกรรมรูปทรงแสนสนุก
เรื่องสนุก ๆ ในชั้นเรียนของเด็กอนุบาล เรียนคณิตแบบสืบเสาะหาความรู้ ใช้คำถามกระตุ้นต่อมคิด
โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต เรียนรู้อย่างสนุกสนานกับกิจกรรม “รูปทรงแสนสนุก” โดยคุณครูกนกอร ปานบุญ ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้นี้ขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักรูปทรงเรขาคณิต จำแนกรูปทรงเรขาคณิต รวมทั้งเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปทรงเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำได้
“ลักษณะสำคัญของการสืบเสาะหาความรู้ในกิจกรรมนี้ก็คือการตั้งคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ เด็กๆสังเกตรูปทรงและตั้งคำถามว่า รูปทรงแต่ละรูปทรงไม่เหมือนกันอย่างไร สำรวจตรวจสอบรวบรวมข้อมูล เด็กๆ สังเกตในห้องเรียนว่ามีอะไรบ้างที่มีลักษณะเป็นรูปทรงเรขาคณิต หยิบรูปทรงเรขาคณิตที่รู้จักมาให้เพื่อนดูและครูแนะนำรูปทรงที่นักเรียนยังไม่รู้จัก ตอบคำถามอ้างอิงข้อมูล สร้างคำอธิบายอย่างมีเหตุผล เด็กๆร่วมกันทำแผนภาพแยกประเภทของรูปทรงและสรุปถึงรูปทรงที่เด็กๆ รู้จักและประเภทของรูปทรงอีกครั้งนำเสนอผลการสำรวจตรวจสอบ นักเรียนนำรูปทรงต่างๆ มาต่อเติมตามจินตนาการและนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน” คุณครูกนกอร ปานบุญ กล่าว
สำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดำเนินไปตามลำดับขั้นตอนดังนี้ ใน ขั้นนำ นักเรียนและคุณครูสนทนาซักถามถึงสิ่งของที่มีลักษณะเป็นรูปทรงเรขาคณิตต่าง ๆ ที่เด็กๆ พบเห็นในชีวิตประจำวันว่ามีอะไรบ้าง ครูให้เด็กออกมาบอกหน้าชั้นเรียน หรือครูอาจใช้คำถามกระตุ้นความคิดและความสนใจของเด็ก ดังเช่นคำถามต่อไปนี้
“เอ๊ะ .. ในห้องเรียนเด็ก ๆ มีอะไรที่เป็นรูปทรงเรขาคณิต ในห้องเรียนที่เด็ก ๆ รู้จักให้ครูและเพื่อนดูบ้างนะ” ..เช่น ลูกบอล ลูกปิงปอง ไม้ต่อบล็อก แก้วน้ำกระดาษ ผลไม้จำลอง เป็นต้น
ขั้นสุดท้าย ขั้นสรุป เมื่อนักเรียนได้รู้จักรูปทรงต่าง ๆ และสามารถแยกประเภทรูปทรงต่าง ๆ ได้แล้ว ครูเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นรูปทรงเรขาคณิต เช่น กล่องกระดาษ ขวดนมเปรี้ยว ลูกปิงปอง กล่องนม ฯลฯ มาให้เด็กๆ ช่วยกันต่อเติมเป็นเรื่องราวต่าง ๆ ตามจินตนาการ โดยครูเป็นเพียงแค่ผู้คอยดูแลและอำนวยความสะดวกอยู่ใกล้ ๆ
และท้ายสุด .....นักเรียนมานำเสนอผลงานของกลุ่มตัวเองหน้าชั้นเรียนว่า สามารถนำรูปทรงต่าง ๆ มาต่อเติมเป็นรูปอะไรได้บ้าง
“เอ๊ะ .. ในห้องเรียนเด็ก ๆ มีอะไรที่เป็นรูปทรงเรขาคณิต ในห้องเรียนที่เด็ก ๆ รู้จักให้ครูและเพื่อนดูบ้างนะ” ..เช่น ลูกบอล ลูกปิงปอง ไม้ต่อบล็อก แก้วน้ำกระดาษ ผลไม้จำลอง เป็นต้น
ขั้นสุดท้าย ขั้นสรุป เมื่อนักเรียนได้รู้จักรูปทรงต่าง ๆ และสามารถแยกประเภทรูปทรงต่าง ๆ ได้แล้ว ครูเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นรูปทรงเรขาคณิต เช่น กล่องกระดาษ ขวดนมเปรี้ยว ลูกปิงปอง กล่องนม ฯลฯ มาให้เด็กๆ ช่วยกันต่อเติมเป็นเรื่องราวต่าง ๆ ตามจินตนาการ โดยครูเป็นเพียงแค่ผู้คอยดูแลและอำนวยความสะดวกอยู่ใกล้ ๆ
และท้ายสุด .....นักเรียนมานำเสนอผลงานของกลุ่มตัวเองหน้าชั้นเรียนว่า สามารถนำรูปทรงต่าง ๆ มาต่อเติมเป็นรูปอะไรได้บ้าง
////// เอกสารอ้างอิง //////
ผลงานนี้ได้นำไปจัดแสดงในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัย ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ "วิทย์ - คณิตปฐมวัย ก้าวย่างอย่างไรให้ยั่งยืน" ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ ที่จัดโดย สสวท. เมื่อปีที่แล้วด้วย
ทั้งนี้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ได้ดำเนินโครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีปฐมวัย โดยมีการพัฒนากรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 พร้อมทั้งได้จัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามสาระ มาตรฐานและตัวชี้วัด รวมทั้งตัวอย่างกิจกรรมไว้อย่างละเอียดและชัดเจน เพื่อให้ครูและผู้เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น